อาชีพที่ปรึกษาด้านกฎหมาย มีหน้าที่อะไรบ้าง

Legal-consulting-career

Trustการใช้ชีวิตของคนปกติทั่วไปเมื่อเติบโตขึ้นมาในวัยที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะต้องประกอบอาชีพ หางานทำเพื่อนำเงินรายได้นั้นๆ มาเลี้ยงดูตัวเอง เลี้ยงดูครอบครัว สร้างความสุขสมให้กับตัวเองในด้านต่างๆ ตามแต่ความต้องการ การประกอบอาชีพแต่ละอาชีพก็ย่อมมีจุดมุ่งหมายในวิชาชีพนั้นๆ ที่แตกต่างกันออกไป สิ่งเดียวที่ทำให้ทุกๆ อาชีพเหมือนกันได้ก็คือความสุจริตในการทำ ไม่มีการคดโกงใคร ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย นี่คือสิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ว่าทุกอาชีพล้วนมีค่าในตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น แน่นอนสำหรับอาชีพเฉพาะอย่างอย่างที่ปรึกษาด้านกฎหมายก็ย่อมมีบทบาทหน้าที่ในตนเองไม่แพ้ไปกับอาชีพอื่นๆ หลายคนมองว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ แต่ที่สำคัญต้องใช้เรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

หน้าที่ของอาชีพที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

ให้คำแนะนำทางด้านกฎหมายต่อหน่วยงาน องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่าส่วนใหญ่แล้วองค์กรเหล่านี้จะมีที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายโดยเฉพาะเพื่อที่ว่าเวลาจะทำอะไรที่อาจมีปัญหาด้านกฎหมายก็จะมีการปรึกษาเพื่อให้เข้าใจได้ว่าสามารถทำได้อย่างถูกต้อง

ให้คำแนะนำเรื่องของข้อคิดเห็นด้านร่างพระราชบัญญัติ กฎ คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับรวมถึงเอกสารอันเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆ ด้วย เพราะที่ปรึกษาด้านกฎหมายจะมีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้อย่างดี ทำให้พวกเขาสามารถถ่ายทอดความรู้ออกไปได้

จัดการด้านร่างพระราชบัญญัติและเอกสารต่างๆ ตามที่องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ต้องการ ซึ่งบ่อยครั้งเราก็จะเห็นว่าหลายองค์กรยกหน้าที่ทางด้านกฎหมายให้กับที่ปรึกษาด้านกฎหมายไปเลยทั้งเรื่องรายละเอียดและเอกสารต่างๆ จะได้ไม่ต้องยุ่งวุ่นวายหลายภาคส่วน

ทำหน้าที่ตีความเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ ข้อผูกพันต่างๆ ทางด้านกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสถานประกอบการเพื่อให้ฝ่ายจัดการที่อยู่ในระดับสูงกว่ารับทราบ พูดง่ายๆ ก็คือคอยรายงานในเรื่องของกฎหมายให้กับผู้บริหารได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อตัวองค์กรได้

ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ทนายความประจำสถานประกอบการเกี่ยวกับเรื่องของการว่าความในคดีต่างๆ ทางชั้นศาล หากในกรณีที่องค์กรนั้นๆ จำเป็นต้องขึ้นศาลแน่นอนว่าพวกเขาต้องมีการจ้างทนายมาเพื่อสู้คดี แต่ที่ปรึกษาด้านกฎหมายที่อยู่กับบริษัทมาตลอดก็สามารถเป็นผู้ที่ช่วยเหลือทั้งการแนะนำข้อมูลหรือเพิ่มเติมรายละเอียดในชั้นศาลได้ด้วยเช่นเดียวกัน

สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่สำหรับที่ปรึกษาด้านกฎหมายจะต้องปฏิบัติไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งหรือบางองค์กรก็อาจต้องปฏิบัติมากกว่าหนึ่งด้านด้วย แต่ก็ถือว่าเป็นหน้าที่อันอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ที่มีความรู้ด้านกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น เป็นหน้าที่ที่ต้องให้ความเข้าใจด้านกฎหมายเยอะพอสมควร